image

นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ มีเพื่อชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจากการใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” และสิทธิตามกฎหมายของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล

1. คำนิยาม

  1. “แพลตฟอร์มดิจิทัล” หรือ “Digital Platform” ผูกพันธุ์ หมายความว่า บริการดิจิทัลภาครัฐที่พัฒนาหรือจัดหาและให้บริการโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ ประชาชน บุคลาการทางการแพทย์ สามารถเข้าถึงข้อมูลผลการตรวจทางพันธุกรรม ได้แก่ ผลการตรวจทางเภสัชพันธุศศาสตร์ เป็นต้น โดยแพลตฟอร์มดิจิทัล”ผูกพันธุ์” แบ่งการใช้งานออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่
  1. “ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลส่วนตัว หรือ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้บริการได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งรวมถึงข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้บริการ ข้อมูลที่ใช้ยืนยันตัวตน ข้อมูลชีวมาตรหรือ biometrics (เช่น ลายนิ้วมือ ใบหน้า เป็นต้น) ข้อมูลสุขภาพ และข้อมูลส่วนบุคคลอื่นใดเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ไม่รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการในกรณีที่ผู้ใช้บริการถึงแก่กรรม และไม่รวมถึงข้อมูลทางสถิติหรือข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ ซึ่งไม่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  2. “ข้อมูลสุขภาพ” หมายความ่วา ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพ ได้แก่ ข้อมูลการแพ้ยา ข้อมูลโรควินิจฉัย ข้อมูลการจ่ายยา ข้อมูลวัคซีน ข้อมูลหัตถการ ข้อมูลค่าผลตรวจทางการแพทย์ ข้อมูลผลตรวจห้องปฏิบัติและผลสรุปภาพถ่ายทางการแพทย์ ข้อมูลสุขภาพละเอียดอ่อน และข้อมูลการเข้ารับบริการการรักษาพยาบาล รวมไปถึงข้อมูลสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจมีเพิ่มเติมในอนาคต
  3. “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้งาน แพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”  ที่แบ่งการใช้งานตามระบบและบทบาทดังต่อไปนี้  
  1. “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบ โรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่า ด้วยวิชาชีพเวชกรรม การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ การประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม เทคนิคการแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเทคนิค การแพทย์การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
  2. “ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล” หรือ “Hospital Information System: HIS” หมายความว่า ระบบการจัดการโรงพยาบาลที่ช่วยในการจัดเก็บ จัดการ และส่งต่อข้อมูลจำนวนมากทั้งจากภายในและภายนอกโรงพยาบาล ให้ผู้บริหารสามารถจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ของโรงพยาบาลได้อย่างคุ้มค่า เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานและการรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว
  3. “ระบบรับ-ส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์” หรือ “iLAB PLUS” หมายความว่า ระบบรับส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยผู้ใช้จะแบ่งเป็นสำหรับหน่วยงานผู้ขอรับบริการ และสำหรับเจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งผู้ขอรับบริการเป็นเป็นผู้ส่งตัวอย่างให้กับห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากนั้นจะทำการวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการ เมื่อวิเคราะห์ผลเรียบร้อยแล้วจะทำการออกรายงานผล และรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ ส่งผลการตรวจวิเคราะห์กลับให้ทางผู้ขอรับบริการนั้นๆ
  4. “ผู้ให้บริการ” หมายความหน่วยงานที่มีหน้าที่และ/หรือได้รับมอบหมายในการจัดทำ พัฒนา และให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”

2. วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน

ข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ขอใช้บริการเข้าถึงข้อมูลผลการตรวจทางพันธุกรรมที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ให้บริการ โดยมีผู้ใช้บริการและบทบาทที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. ประชาชน เข้าถึงและแสดงผลการตรวจของตนเองให้บุคลาการทางการแพทย์ที่รักษา
  2. บุคลากรทางการแพทย์ เข้าถึงและใช้ผลการตรวจของประชาชน ประกอบการพิจารณาวินิจฉัย ป้องกันและรักษาโรคที่เฉพาะบุคคล ส่งเสริมการรักษาแบบการแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine)
  3. ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ บันทึกผลการตรวจทางพันธุกรรมในแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”

นอกจากนี้ แพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”” ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศโรงพยาบาล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการตรวจทางพันธุกรรม เนื่องจากการตรวจทางพันธุกรรมบางรายการ สามารถตรวจครั้งเดียวและใช้ผลการตรวจได้ตลอดชีวิต ดังนั้นจึงทำให้ผู้ป่วยและภาครัฐประหยัดเงินและเวลาในการตรวจซ้ำเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่างโรงพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์สามารถพิจารณาใช้ผลการตรวจดังกล่าวในการวางแผนป้องกันและรักษาโรคได้ทันที

ในขณะเดียวกัน ข้อมูลส่วนบุคคลบางรายการมีความจำเป็นที่จะต้องทำการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผย เนื่องจากเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ซึ่งการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจะไม่ถูกกระทำการใด ๆ ที่นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้ข้างต้น เว้นแต่เป็นการใช้เพื่อ

  1. การควบคุมคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมการให้บริการของ “ผูกพันธุ์”
  2. ความปลอดภัยของเครือข่ายและข้อมูล
  3. การปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้บริการของโครงการฯ
  4. การให้บริการเพื่อประโยชน์ของประชาชน
  5. วัตถุประสงค์อื่น ๆ ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนก่อน
  6. ประโยชน์สาธารณะด้านการสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
  7. การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ หรือประโยชน์สาธารณะอื่น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
  8. การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกรณีที่กฎหมายฉบับอื่นบัญญัติให้กระทำ

3. การเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลบนแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”

ข้อมูลส่วนบุคคล คือข้อมูลที่ทำให้สามารถระบุตัวตนหรือบ่งชี้ลักษณะเฉพาะตัวของประชาชนได้ ไม่ว่าจะทั้งทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่จะถูกเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยภายในแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” จะครอบคลุมทั้งข้อมูลก่อนและหลังจากวันที่ประชาชนแสดงความยินยอมในการใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” โดยจะประกอบไปด้วยข้อมูลและวัตถุประสงค์ในการรวบรวม ใช้ และเปิดเผย ดังนี้

  1. ข้อมูลส่วนตัว เช่น
  2. ข้อมูลสุขภาพละเอียดอ่อน ได้แก่

และการทดสอบทางพันธุกรรมอื่น ๆ เช่น การตรวจการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1/BRCA2 การตรวจธาลัสซีเมีย และการแปลผลทางพันธุกรรมจากโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย เป็นต้น ทั้งนี้ ข้อมูลที่นำเข้าในแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” อาจแสดงข้อมูลการตรวจทางพันธุกรรมย้อนหลังเพียงบางส่วน เนื่องจากข้อจำกัดในการจัดเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่ผ่านมา

  1. ข้อมูลประวัติความยินยอม ซึ่งเป็นการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้ความยินยอมของประชาชน และข้อมูลการร้องขอความยินยอมเพื่อเรียกดูข้อมูลสุขภาพของประชาชนโดยบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการตอบรับของประชาชน เพื่อใช้กำกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลของประชาชน โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. ข้อมูลประวัติการเข้าถึงและเรียกดูข้อมูลสุขภาพ ซึ่งเป็นการบันทึกการเรียกดูข้อมูลสุขภาพของประชาชนโดยบุคลากรทางการแพทย์ในสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อใช้ตรวจสอบและดูแลจัดการการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลสุขภาพของประชาชน เช่น
  2. ข้อมูลประวัติการนำเข้าข้อมูลสุขภาพ ซึ่งเป็นการบันทึกรายการการนำเข้าข้อมูลสุขภาพทางอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนจากสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการฯ มายังแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” เพื่อใช้จัดการดูแลและเป็นหลักฐานการทำงานของแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” เช่น

บุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถเข้าถึง เรียกดู และใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน แบ่งเป็น 3 กรณี ได้แก่

  1. เข้าถึงข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นผู้ขอเข้าถึงข้อมูลของประชาชนเท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึง เรียกดู และใช้ข้อมูลการตรวจทางพันธุกรรมของประชาชน
  2. เข้าถึงข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศโรงพยาบาล เมื่อประชาชนให้ความยินยอมให้รับ-ส่งข้อมูลการตรวจทางพันธุกรรมระหว่างแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” กับระบบสารสนเทศโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ในสถานพยาบาลนั้น ๆ สามารถเข้าถึง เรียกดู และใช้ข้อมูลการตรวจทางพันธุกรรมของประชาชน
  3. ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม “ผูกพันธุ์” ซึ่งเป็นผู้ดูแลการใช้งาน การให้บริการ การพัฒนา และความปลอดภัยของระบบฯ จึงสามารถเข้าถึงข้อมูลใดของประชาชนได้เท่าทีมีความจำเป็น

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนในแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” อาจมีการเปิดเผยให้แก่ บุคคลที่ทำงานให้และทำงานร่วมกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม “ผูกพันธุ์” อาทิเช่น ผู้ตรวจสอบระบบฯ ผู้พัฒนาดูแลระบบฯ และผู้ประชาสัมพันธ์ระบบฯ โดยบุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม “ผูกพันธุ์” เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมบริการของแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ให้ปลอดภัย ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสถานพยาบาลที่เข้าร่วมใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ของสถานพยาบาลนั้น สามารถเข้าถึงและใช้ผลการตรวจทางพันธุกรรมของประชาชน ประกอบการพิจารณาวินิจฉัย ป้องกันและรักษาโรคที่เฉพาะบุคคลได้

  การใช้งานหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนภายในแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวไว้ข้างต้น ความยินยอมเข้าร่วมโครงการของประชาชน ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการสำหรับผู้ป่วย และประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้อย่างเคร่งครัด โดยผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม “ผูกพันธุ์” จะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไปใช้เพื่อการกระทำอื่นใดซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาพยาบาลของประชาชน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากประชาชนมาก่อนแล้ว หรือเป็นไปตามตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในขณะเดียวกัน ก่อนที่บุคลากรทางการแพทย์จะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนได้ บุคลากรทางการแพทย์ต้องตกลงที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการสำหรับแพทย์และได้รับอนุญาตจากสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการฯ ในการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” เพื่อประกอบการให้บริการทางการบุคลากรทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม “ผูกพันธุ์” ไม่สามารถรับรองได้อย่างเด็ดขาดว่าการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนโดยบุคลากรทางการแพทย์จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการรักษาพยาบาลของประชาชนและ/หรือข้อตกลงดังกล่าว แต่แพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” จะดูแลการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนอย่างใกล้ชิด โดยกำกับ บันทึก และตรวจสอบการใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์ ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุไว้ข้างต้น หากระบบฯ ค้นพบบุคลากรทางการแพทย์ที่ใช้งานระบบฯ นอกขอบเขตข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ระบบฯ จะระงับการใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์ทันที

     ในบางกรณีอาจมีการอนุญาตให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนได้หากประชาชนอยู่ในกรณีฉุกเฉินซึ่งมีความจำเป็นจะต้องป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของประชาชน ซึ่งประชาชนไม่สามารถให้ความยินยอมได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม หรือกรณีที่มีการบังคับใช้ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยบุคคลที่เข้าถึงข้อมูลของประชาชนจะต้องเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนตามเงื่อนไขหรือขอบเขตเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ทั้งนี้ระบบฯ จะบันทึกการใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไว้ เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้

4. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจะถูกเก็บรวบรวมโดยแบ่งเป็น

  1. ข้อมูลส่วนตัว จะถูกเก็บรวบรวมและจัดการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” โดยมีการนำเข้าข้อมูลและพิสูจน์ตัวตนจากแพลตฟอร์ม ดังต่อไปนี้

หรือ ผ่านการกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนเข้าใช้งานผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”

  1. ข้อมูลสุขภาพละเอียดอ่อน เป็นข้อมูลผลการตรวจทางพันธุกรรม ที่ถูกนำเข้าจาก
  1. ข้อมูลประวัติความยินยอม ข้อมูลประวัติการเข้าถึงและเรียกดูข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลการเข้ารับบริการทางการแพทย์ และข้อมูลประวัติการนำเข้าข้อมูลสุขภาพ จะถูกเก็บรวบรวมโดยแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”

5. การแสดงความยินยอมให้เก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

แพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ออกแบบให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ และระบบสารสนเทศโรงพยาบาลที่เข้าร่วมใช้บริการระบบ ดังนั้นเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลการตรวจทางพันธุกรรมของประชาชนได้นั้น ประชาชนสามารถเลือกแสดงความยินยอมโดยมีรูปแบบดังต่อไปนี้

  1. การแสดงความยินยอมรายครั้ง ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” เมื่อบุคลากรทางการแพทย์
    กดขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลผลการตรวจทางพันธุรรรมของผู้ป่วย หากผู้ป่วยเลือกให้เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวแบบรายครั้ง ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องกดยินยอมให้เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวทุกครั้งที่มีการขอเข้าถึง แม้ว่าบุคลากรทางการแพทย์ผู้นั้นจะเป็นคนเดียวกันกับผู้ที่ขอเข้าถึงข้อมูลครั้งแรกก็ตาม 
  2. การแสดงความยินยอมครั้งเดียว ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” เมื่อบุคลากรทางการแพทย์ขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลผลการตรวจทางพันธุกรรมของผู้ป่วย หากผู้ป่วยเลือกให้เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวแบบครั้งเดียวจะเป็นการอนุญาตให้แพทย์คนดังกล่าวสามารถเข้าถึงผลการตรวจทางพันธุกรรมของผู้ป่วยได้ตลอดจนกว่าประชาชนจะยกเลิกความยินยอม 
  3. การแสดงความยินยอมรายสถานพยาบาล เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลนั้นๆ ผู้ป่วยมีสิทธิ์ที่จะอนุญาตให้สถานพยาบาลเข้าถึงและนำเข้าข้อมูลผลการตรวจทางพันธุกรรมในระบบสารสนเทศโรงพยาบาลกับแพลตฟอร์ม ผูกพันธุ์” หรือไม่อนุญาตก็ได้

ข้อมูลผลการตรวจทางพันธุกรรมของประชาชนจะสามารถเข้าถึงได้โดยบุคลากรทางการแพทย์ก็ต่อเมื่อประชาชน อนุญาต ให้เข้าถึงข้อมูลเท่านั้น

6. การแบ่งปันข้อมูลให้แก่บุคคลที่สาม

         ข้อมูลที่เก็บรวบรวมในแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” จะถูกแบ่งปันให้กับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อวัตถุประสงค์ด้านสาธารณสุข ก็ต่อเมื่อเจ้าของข้อมูลอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” และการเสียบประชาชนเท่านั้น โดยข้อมูลจะไม่ถูกแบ่งปันเพื่อวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต

นอกจากนี้แพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” จะมีการขออนุญาตเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของประชาชนให้แก่หน่วยงานของบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลการตรวจทางพันธุกรรมจากระบบ “ผูกพันธุ์” ไปแสดงในระบบต่าง ๆ เช่น การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลชองประชาชนไปยังแอปพลิเคชัน “H4U” แอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” และระบบ “Health Link” โดยที่หน่วยงานของแอปพลิเคชันดังกล่าวจะต้องตกลงเรื่องการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนกับสถานพยาบาลที่เข้าร่วม “ผูกพันธุ์” จัดทำเอกสารชี้แจงขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการใช้งานข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” รวมถึงจัดให้มีมาตรฐานความปลอดภัยที่มีความมั่นคงอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ หน่วยงานของบุคคลที่สามจะต้องเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลของประชาชนตามที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด

7. การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน

         ข้อมูลของประชาชนจะถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลบนศูนย์ข้อมูล (server) ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยข้อมูลของประชาชนจะถูกรักษาไว้อย่างดี โดยมีการสำรองข้อมูล มาตรการในการรักษาความปลอดภัย และกลไกในการปกป้องข้อมูลจากการสูญเสียต่าง ๆ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจะมีผลบังคับใช้ตลอดระยะเวลาที่ประชาชนให้ความยินยอมใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” หรือจนกว่าแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”จะยุติการให้บริการ หรือเป็นไปตามข้อกำหนดของระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

8. สิทธิของประชาชนเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

     ประชาชนมีสิทธิในการให้ความยินยอมให้รับ-ส่งข้อมูลการตรวจทางพันธุกรรมระหว่างแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” กับระบบสารสนเทศโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ในสถานพยาบาลนั้น ๆ สามารถเข้าถึง เรียกดู และใช้ข้อมูลการตรวจทางพันธุกรรมของประชาชน ทำให้ประชาชนสามารถรับบริการพยาบาลปราศจากรอยต่อ ทั้งนี้ สิทธิของประชาชนเกี่ยวกับข้อมูลในแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”  มีดังต่อไปนี้

  1. สิทธิที่จะได้รับการแจ้งให้ทราบ เอกสารนโยบายการคุ้มครองข้อมูลฉบับนี้มีไว้เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน โดยประชาชนสามารถติดต่อมาที่ระบบฯ เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
  2. สิทธิในการขอเข้าถึง รับ โอนถ่าย และแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล ประชาชนสามารถเข้าถึง รับ โอนถ่าย และแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนตามแหล่งที่มาของข้อมูลที่ระบุไว้ข้างต้น อย่างไรก็ตาม สิทธิของประชาชนอาจจำกัดโดยความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างประชาชนและผู้ควบคุมข้อมูลของประชาชน

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการโอนถ่ายข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ไปยังระบบหรือหน่วยงานอื่นที่ทำการเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ได้ ปัจจุบันยังไม่มีแอปพลิเคชันที่ประชาชนสามารถยินยอมให้ดึงข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ได้ โดยแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” มีแผนดำเนินการพัฒนาในส่วนการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันอื่น ๆ ในระยะถัดไป

  1. สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ประชาชนสามารถคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคของประชาชนได้ โดยไม่ยินยอมเข้าร่วมโครงการฯ เพิกถอนความยินยอม หรือส่งคำร้องขอดังกล่าวมาที่ระบบฯ
  2. สิทธิในการขอให้ลบ หรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล ประชาชนสามารถขอใช้สิทธิโดยส่งคำร้องขอมาที่ระบบฯ
  3. สิทธิในการขอระงับการใช้ข้อมูล ประชาชนสามารถระงับการใช้ข้อมูลของประชาชนได้โดยการเพิกถอนความยินยอมเข้าร่วมโครงการฯ
  4. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม ประชาชนสามารถเพิกถอนความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจากแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ได้ตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งนี้ การเพิกถอนจะไม่มีผลลบล้างความยินยอมหรือผลของความยินยอนที่ได้กระทำไปก่อนหน้าแต่อย่างใด โดยขั้นตอนในการเพิกถอนความยินยอมนั้นจำเป็นจะต้องทำผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”
  5. สิทธิในการเลือกโรงพยาบาลที่สามารถนำข้อมูลการรักษาพยาบาลของประชาชนเข้าสู่แพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”
  6. สิทธิในการอนุญาตหรือปฏิเสธการเข้าถึงประวัติการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่บังคับการให้ความยินยอมเป็นรายครั้ง

9. การปฏิเสธคำขอหรือการคัดค้านเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

     การดำเนินการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจะเป็นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

10. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประมวลผลและผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน

     เมื่อประชาชนเข้าร่วมใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจะถูกเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยโดยบุคคลหรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งจำแนกออกเป็น

  1. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ในที่นี้ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ได้แก่
  2. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับ การเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ในที่นี้ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ได้แก่

11. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

          ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม “ผูกพันธุ์” ขอสงวนสิทธิในการปรับปรุงหรือแก้ไขรายละเอียดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  1. เพื่อวัตถุประสงค์ของแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”
  2. เพื่อพัฒนา ทดสอบ และให้บริการระบบฯ
  3. เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ และสาธารณสุขให้มากยิ่งขึ้น
  4. เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือหลักกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งระบบฯ จะประกาศอย่างชัดเจนให้ประชาชนทราบก่อนการดำเนินการพร้อมทั้งขอความยินยอมจากประชาชนอีกครั้งหากจำเป็น ปัจจุบัน นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยถูกทบทวนครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566

12. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน

แพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ได้มีการออกแบบและพัฒนาโดยตระหนักและให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในทุกกระบวนการเพื่อปกป้องข้อมูลของประชาชนจากการทำลายหรือบุกรุกจากผู้ไม่หวังดีหรือผู้ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล มีระบบการลงทะเบียนด้วย e-KYC และทำการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ซึ่งทำให้ผู้ที่ดักจับข้อมูลไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อได้

         ข้อมูลส่วนบุคคลในแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”จะถูกปกป้องอย่างเคร่งครัด จึงทำให้การใช้งานของข้อมูลในระบบดังกล่าว เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ แม้ว่าระบบฯ ได้มีการออกแบบและพัฒนาเพื่อรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดีที่สุดก็ตาม แพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ไม่สามารถปกป้องข้อมูลของประชาชนได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้น ประชาชนควรตระหนักเรื่องการรักษาความปลอดภัยและดูแลอุปกรณ์ของประชาชนเป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน

13. การจำกัดความรับผิดชอบ

ทางแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ขอสงวนสิทธิที่จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย ค่าใช้จ่าย ความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการของโครงการฯ ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล ความล่าช้าในการโอนถ่ายข้อมูล ระยะเวลาในการเปิดเผยข้อมูล เหตุขัดข้องหรืออุปสรรคของการเชื่อมต่อ ความผิดพลาดในการแสดงผล ความเสถียรของระบบฯ และไวรัสคอมพิวเตอร์จากการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์”

14. ช่องทางการติดต่อ

หากประชาชนประสงค์จะติดต่อ หรือมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดการเก็บรวบรวม  ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงสิทธิของประชาชนนโยบายฉบับนี้ หรือต้องการยกเลิกการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล หรือกรณีที่พบว่ามีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไปในทางที่ไม่ชอบ ประชาชนสามารถติดต่อสำนักงานทางช่องทางดังต่อไปนี้

         สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

สถานที่ติดต่อ: 88/7 ซอยบำราศนราดูร ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 

เวลาทำการปกติ: วันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 น.

เว็บไซต์: https://phukphan.dmsc.moph.go.th/

ติดต่อสอบถาม : 

  1. นางสาวนภัชชา ถาวงศ์

อีเมลล์: penpitcha.t@dmsc.mail.go.th

หมายเลขโทรศัพท์: 0-2589-9850 ถึง 8 ต่อ 98096

  1. นางสาวพรนภัส อยู่นุช

         อีเมลล์: pornnapat.y@dmsc.mail.go.th

         หมายเลขโทรศัพท์: 0-2589-9850 ถึง 8 ต่อ 98096

  1. นายอาคม สาลี

          อีเมลล์: arkom.s@dmsc.mail.go.th

           หมายเลขโทรศัพท์: 0-2951-0000 ต่อ 99460